กระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการจัดการระบบเตือนภัยล่วงหน้า (EWS) และการนำระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาประยุกต์ใช้งานในประเทศไทย

 

ภูเก็ต – วันที่ 5 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมมุกอันตา ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง การจัดการระบบเตือนภัยล่วงหน้า (EWS) และการนำระบบปัญปัญญาประดิษฐ์ (A) เข้ามาประยุกต์ใช้งานประเทศไทย โดยมี เจ้าหน้าที่กระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่น, คณะผู้ศึกษาตัวแทนของกระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

 

 

เนื่องด้วยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC COP 27) ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศให้การสนับสนุนเรื่อง “การให้ความช่วยเหลือโดยรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อหลีกเลี่ยง ลดให้น้อยที่สุด และจัดการความสูญเสียและความเสียหายต่างๆ จากภัยพิบัติ” และ “แนวความคิดริเริ่มในการส่งเสริมแนะนำการจัดการระบบเตือนภัยล่วงหน้า (EWS) ภายใต้ความร่วมมือของภาคเอกชนและภาครัฐ (Public Private Partnerships) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”

 

 

ดังนั้น รัฐบาลญี่ปุ่น โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่น จึงได้กำหนดบทบาทในการให้คำปรึกษาในเรื่องการจัดการระบบเตือนภัยล่วงหน้า ภายใต้ความร่วมมือของภาคเอกชนและภาครัฐ (Public Private Partnerships) ในเดือนมิถุนายน 2023 และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิดริเริ่มนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นได้ทำการสำรวจในหลายประเทศในปีที่แล้ว และเชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการที่จะส่งเสริมแนะนำการจัดการระบบเตือนภัยล่วงหน้า (EWS) และการนำระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) เข้ามาประยุกต์ร่วมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

กระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่น จึงมอบหมายให้ Pacific Consultants, Co. Ltd. เป็นตัวแทนในการศึกษาการส่งเสริมแนะนำโครงการจัดการระบบเตือนภัยล่วงหน้า ในปีงบประมาณ 2567 พร้อมนำ Spectee Pro ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ AI ประมวลผลเพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถคำนวณเพื่อแจ้งภัยล่วงหน้า รวบรวมข้อมูลจากโซเชียลมีเดียแบบ Realtime และช่วยในกรองข้อมูล เพื่อให้ได้ขข้อมูลที่เท็จจริง โดยสามารถส่งต่อข้อมูลให้ไปหน่วยงานโดยตรงได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

 

ภาพและข่าว สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต